นิ้วล็อค (Trigger Finger)


เป็นกลุ่มอาการอักเสบของเอ็นนิ้วมือที่พบบ่อยในวัยกลางคน น่าแปลกที่เราพบโรคนี้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย พบมากในคนที่ทำงานใช้มือมากๆ มีการกำมือ งอนิ้วบ่อยๆ เช่น คนที่ทำงานทอผ้า คนที่นั่งพิมพ์ดีด คนที่ใช้คอมพิวเตอร์วันละหลายชั่วโมง หรือคุณแม่บ้านที่ไปจ่ายตลาดแล้วใช้นิ้วหิ้วถุงพลาสติกใส่ของหนักๆ หลายๆ ถุง เป็นเวลานานๆ นอกจากนี้ยังพบในคนที่มือเกิดอุบัติเหตุบ่อยๆ และพบร่วมกับผู้ป่วยโรคข้ออับเสบชนิดรูมาตอยด์ พบในผู้ป่วยเบาหวานได้มากกว่ากลุ่มอื่น นิ้วล็อคมักจะเป็นกับนิ้วกลางและนิ้วนางมากกว่านิ้วชี้และนิ้วก้อย


อาการของนิ้วล็อคคือ เวลากำมือแล้วเวลาที่แบมือออก จะเหยียดนี้วกลางหรือนิ้วนางไม่ได้ กว่าจะเหยียดออกได้ต้องใช้เวลาและติดขัด ซึ่งไม่ใช่อาการอันตราย แต่สร้างความรำคาญให้กับผู้ที่เป็นโรคนี้ การใช้มืออาจไม่สะดวกเหมือนปกติ บางคนรู้สึกอาย หรือบางคนอาจกังวลว่าเป็นโรคข้อหรือว่ามีข้อเคลื่อนหรือเปล่า ที่จริงแล้วไม่ใช่นะครับ แต่เกิดจากเอ็นนิ้วมือบวมอักเสบ

การรักษานิ้วล็อคมีหลายวิธี ได้แก่
1. การใช้ความร้อนประคบ วิธีนี้ใช้ช่วยเหลือบรรเทาอาการทำให้นิ้วที่ล็อค สามารถเหยียดออกได้ง่ายขึ้น แต่วิธีนี้ไม่ใช่การรักษาให้หายขาดครับ เพียงแต่เป็นการช่วยปฐมพยาบาลขั้นต้นเท่านั้น
2. การรับประทานยาแก้อักเสบของกล้ามเนื้อ การรับประทานยาจะช่วยลดอาการอักเสบของเอ็นนิ้วมือ มักจะได้ผลดีในกรณีที่อาการนิ้วล็อคเพิ่งเป็น ไม่เกิน 2-3 สัปดาห์ หากเป็นนานหรือว่าเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง การรักษาด้วยวิธีนี้อาจไม่ได้ผล
3. การฉีดยาเข้าในเอ็นข้อนิ้วที่อักเสบ เป็นการฉีดยาลดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ และเอ็นเข้าไปโดยตรง (ภาพที่ 1) วิธีนี้มักจะได้ผลดี เนื่องจากยาจะเข้าไปรักษาบริเวณที่อักเสบโดยตรง แต่ผู้ป่วยมักไม่ชอบเพราะเจ็บ
4. ในกรณีที่เป็นซ้ำๆหลายครั้ง การกินยา ฉีดยาอาจไม่ได้ผล อาจจำเป็นต้องผ่าตัด เพื่อแก้ไขเอ็นนิ้วมือส่วนที่มีการอักเสบครับ การผ่าตัดนิ้วล็อค เป็นการผ่าตัดเล็ก ใช้เวลาทำไม่นาน ผู้ป่วยไม่ต้องค้างโรงพยาบาลครับ ฉีดยาชาทำเสร็จสามารถกลับบ้านได้เลย

 
Design by Pitchaya.net | Bloggerized by สูตรอาหาร | ขายลำไยอบแห้ง ลองกานอยด์ Health Lover นิ้วล็อค สารสกัดงาดำ เอมมูร่า เซซามิน